วันอาทิตย์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สรุปเนื้อหาประเทศลาว


นครหลวงเวียงจันทน์
นครหลวงเวียงจันทน์ เป็นเมืองหลวงของประเทศลาว ก่อนหน้านี้เรียกว่า "กำแพงนครเวียงจันทน์" นครหลวงเวียงจันทน์มีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจหลายแห่ง ได้แก่
พระธาตุหลวง  เป็นพระธาตุใหญ่และสวยงามที่สุดในสปป.ลาว สร้างโดยช่างโบราณลาว มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรมและเป็นตัวแทนของสถาปัตยกรรมของลาว ล้านช้าง ด้านหน้ามีอนุสาวรีย์พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ประดิษฐานอยู่ ส่วนองค์พระธาตุหลวงเหลืองอร่ามดุจทองที่ปรากฏด้านหลังอนุสาวรีย์นั้น เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ในแต่ละปีจะมีงานนมัสการพระธาตุหลวงที่ยิ่งใหญ่ในคืนเพ็ญเดือน 12 ถือเป็นงานยิ่งใหญ่ระดับชาติ
วัดองตื้อ  สร้างขึ้นสมัยคริสตศตวรรษที่ 16 (ค.ศ.) ภายหลังที่เจ้าไชยเชษฐาธิราชสร้างเมืองเเวียงจันทน์ 6 ปี สันนิษฐานว่าสร้างครอบวังเก่าในสมัยขอม แต่ก่อนเรียก "วัดไชยะพูม" เมื่อมีพระพุทธรูปองตื้อมาประดิษฐานที่นี้ คนทั้งหลายจึงเรียกว่า "วัดองตื้อ"
วัดสีสะเกด  สร้างเมื่อ พ.ศ. 2361 (ค.ศ.1818) ตามคำสั่งของเจ้าอนุวงศ์แห่งราชอาณาจักรล้านช้าง วัดนี้ตั้งอยู่ติดกับพระราชวังหลวงด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นวัดที่มีความหมายทางประวัติศาสตร์ เนื่อจากเป็นวัดเก่าแก่ในนครหลวงเวียงจันทน์ที่ไม่ถูกทำลายจากสงคราม ลักษณะพิเศษของวัดนี้อยู่ที่ความอลังการของพระพุทธรูป 6,840 องค์ ที่ฝังอยู่ตามช่องกำแพง
ประตูชัย  เป็นอนุสรณ์สถานและเป็นสัญลักษณ์ของนครหลวงเวียงจันทน์ สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1962 ตั้งอยู่บนถนนล้านช้าง นักท่องเที่ยวสามารถขึ้นบันไดไปบนอนุสาวรีย์เพื่อชมทิวทัศน์ของตัวเมืองนครหลวงเวียงจันทน์ได้
นอกจากนี้ยังมีสถานที่ที่น่าสนใจอื่นๆ อีก เช่น วัดสีเมือง ตลาดเช้า พิพิธภัณฑ์ไกสอนพมวิหาร เขื่อนน้ำงึม

หลวงพระบาง
ตั้งอยู่ทางภาคเหนือของลาว ห่างจากนครหลวงเวียงจันทน์ 420 กิโลเมตร เป็นศูนย์กลางและเมืองหลวงแห่งอาณาจักรล้านช้าง ในช่วงศตวรรษที่ 13-16 รุ่งเรืองด้วยวัดวาอารามที่งามวิจิตร บ้านช่องได้รับอิทธิพลจากศิลปะแบบโคโลเนียล (Colonail) ของฝรั่งเศส ด้วยเหตุนี้หลวงพระบางจึงได้รับการยกย่องจาก UNESCO ให้เป็นเมืองมรดกโลกเมื่อปี ค.ศ.1995 มีสถานที่ท่องเที่ยว ได้แก่ วัดเชียงของ พระธาตุจอมพูสี วัดวิซุน วัดแสนสุขาราม หอพิพิธภัณฑ์ พระราชวังเก่าหลวงพระบาง ถ้ำติ่ง น้ำตกตาดกวางสี

จำปาสัก
แขวงจำปาสัก เป็นหนึ่งในจำนวนศูนย์กลางทางศิลปวัฒนธรรม การเมือง เศรษฐกิจภาคใต้ของลาว ในอดีตหลายร้อยปีที่ผ่านมาเคยเป็นแขวงที่ลือชื่อในสมัยขอมโบราณ และเป็นดินแดนแห่งอาณาจักรล้านช้างที่เต็มไปด้วยศิลปวัฒนธรรมเก่าแก่ สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ ได้แก่ ปราสาทหินวัดพู (แหล่งมรดกโลก) น้ำตกคอนพะเพ็ง น้ำตกหลี่ผี

เชียงขวาง
แขวงเชียงขวางตั้งอยู่ทางภาคเหนือของลาว และสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง คือ ทุ่งไหหิน อยู่ห่างจากเมืองโพนสะหวันซึ่งเป็นเมืองเอกของแขวงออกไปประมาณ 8 กิโลเมตร มีไหน้อยใหญ่ที่สร้างจากหินจำนวนมากกระจายไปทั่วเขตภูเพียง เชียงขวาง โดยไหหินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดสูงถึง 3.25 เมตร ปากกว้าง 3 เมตร
สะหวันนะเขต
แขวงสะหวันนะเขต เป็นแขวงที่อุดมไปด้วยศิลปวัฒนธรรม มีโบราณสถานที่เก่าแก่ บรรจุศิลปะลวดลายแบบขอม ซึ่เชื่อกันว่าสร้างในศตวรรษที่ 11 ได้แก่ หอเทวาลัย บ้านเฮือนหิน เมืองสองคอน และธาตุกู่บ้านนาคู เมืองจำพอน และที่เด่นไปกว่านั้น คือ พระธาตุฮิงฮัง วัดหนองลำจัน วัดบ้านชะคืนใต้ วัดท่าโสน วัดไชยะพูม และวัดจำพอน

วังเวียง
เมืองวังเวียงเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งของ สปป.ลาวตั้งอยู่ห่างจากนครหลวงเวียงจันทน์ไปทางทิศเหนือ 150 กม. เป็นแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติที่สวยงาม ถูกล้อมรอบด้วยภูเขาตั้งเรียงรายตามลำน้ำซอง สามารถล่องเรือชมธรรมชาติและยังมีถ้ำต่างๆ ให้ชมอีกมากมาย อาทิ ถ้ำจัง ถ้ำปูคำ ถ้ำนอนฯลฯ เมืองวังเวียงจึงเป็นสถานที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการพักผ่อนอย่างแท้จริง    
พงสาลี
ตั้งอยู่เหนือสุดของประเทศ มีอาณาเขตติดต่อกับจีน เวียดนาม เป็นแหล่งรวมของชนเผ่าต่าง ๆ มากมาย ได้แก่ ไทดำ ไทแดง เย้า ไทลือ ขมุ ฯลฯ ซึ่งแต่ละเผ่ามีภาษาและวัฒนธรรมเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเครื่องแต่งกาย งานหัตถกรรม เครื่องเงินและอัญมณี ดังนั้นสิ่งที่น่าสนใจของพงสาลีจึงอยู่ที่ความแตกต่างของแต่ละชนเผ่าซึ่งเป็นประชากรหลักของที่นี่
หลวงน้ำทา
มีสถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจหลายแห่งด้วยกัน ที่เลื่องชื่อก็คือป่าสงวนแห่งชาติน้ำฮ้า (Nam Ha) อยู่ห่างออกไปทางตะวันตกเฉียงใต้ โดยมี NBCA-National Biodiversity Conservation Area ทำหน้าที่คุ้มครองพันธุ์สัตว์ป่าเขตร้อนครอบคลุมถึง 99% ของพื้นที่ทั้งหมด สัตว์ป่าที่มีมากในเขตนี้ก็คือ หมาป่า เสือ เสือดาว หมี ชะนี และพันธุ์นกขนาดใหญ่ เป็นต้น
อุดมไชย
ที่นี่คือแหล่งรวมชนเผ่ากลุ่มเล็กกลุ่มน้อยถึง 23 เผ่า เช่น ม้ง อีก้อ ขมุ การเดินทางมาเที่ยวอุดมไชย นักท่องเที่ยวจะได้พบกับการต้อนรับด้วยประเพณีท้องถิ่นดั้งเดิมที่แต่ละเผ่ารักษาไว้มานานกว่า 2,000 ปี และนี่เองที่เป็นสีสันของการมาแขวงอุดมไชย
บ่อแก้ว
" บ่อแก้ว " หมายถึง ดินแดนแห่งเมืองบ่อพลอย อัญมณี หรือที่ชาวลาวเรียกว่า "แก้วประเสริฐ" เหตุเพราะพื้นที่ส่วนใหญ่ของบ่อแก้วอุดมด้วยแร่ธาตุสำคัญไม่ว่าจะเป็น ทอง แร่อัญมณีต่าง ๆ อันเป็นแหล่งสร้างรายได้แก่รัฐและชาวเมืองบ่อแก้วมาจนบัดนี้

แหล่งท่องเที่ยวลาว


ภาษาลาว


เครื่องแต่งกายของลาว


วันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2556

ผู้นำประเทศลาว

  ท่าน จูมมะลี ไซยะสอน 
ประธานประเทศลาว คนที่ 6 
อยู่ในวาระ 
เริ่มดำรงตำแหน่ง 
8 มิถุนายน พ.ศ. 2549  

วันจันทร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2556

ภูมิประเทศลาว

อาณาเขตประเทศลาว
 
ทิศเหนือ ติดกับ สาธารณรัฐประชาชนจีน (423 ตารางกิโลเมตร)
ทิศใต้ ติดกับ ราชอาณาจักรกัมพูชา (541 ตารางกิโลเมตร)
ทิศตะวันออก ติดกับ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (2,130 ตารางกิโลเมตร)
ทิศตะวันตก ติดกับ สาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพเมียนมาร์ (พม่า) (235 ตารางกิโลเมตร)
ทิศใต้และทิศตะวันตก ติดกับ ประเทศไทย (1,754 ตารางกิโลเมตร)
 
ประเทศลาวมีความยาวจากเหนือจรดใต้เป็นระยะทางประมาณ 1,000 กิโลเมตร
ช่วงที่กว้างที่สุดของประเทศมีความยาว 500 กิโลเมตร ช่วงที่แคบที่สุดของประเทศมีความยาว 150 กิโลเมตร
 
หมายเหตุ:
เขตแดนไทย - ลาว ประเทศไทยมีเส้นแบ่งเขตแดนติดต่อกับ สปป.ลาว ประกอบด้วย 11 จังหวัดของไทย ได้แก่ เชียงราย,
พะเยา, น่าน, อุตรดิตถ์, พิษณุโลก, เลย, หนองคาย, นครพนม, อำนาจเจริญ, มุกดาหารและอุบลราชธานี
และ 9 แขวงของลาวได้แก่ แขวงบ่อแก้ว, แขวงไซยะบุรี, แขวงเวียงจันทน์, นครหลวงเวียงจันทน์, แขวงบอลิคำไซ,
แขวงคำม่วน, แขวงสะหวันนะเขต, แขวงสาละวันและแขวงจำปาสัก

วันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2556

ประเทศลาว



ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์เมื่อประมาณ 4,000 – 5,000 ปีก่อน กลุ่มชนที่พูดภาษาไตได้อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศลาวและที่ราบสูงในภาคอีสาน รวมถึงพวกไท- กะได ม้ง-เมี่ยนที่เป็นบรรพบุรุษของชาวลาวลุ่ม และพวกม้ง-เย้าที่อพยพจากตอนใต้ของประเทศจีน แรกเริ่มกลุ่มชนเหล่านี้ไม่มีการตั้งหลักแหล่งที่แน่นอน ต่อมาเมื่อชนเผ่าต่างๆ ทั้งไท พม่า และเวียดนามอพยพลงมาในเขตเทือกเขาและหุบเขาของดินแดนเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่ของชนชาติมอญ-เขมร ความจำเป็นในการสร้างบ้านแปงเมืองก็เริ่มมีขึ้นจนพัฒนาต่อมาเป็นเมืองเกษตรกรรม และตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณหุบเขาและที่ราบลุ่มภายใต้อำนาจของอาณาจักรเขมร

ต่อมาในปี พ.ศ.1896 พระเจ้าฟ้างุ้มทรงทำสงครามตีเอานครเวียงจันทน์หลวงพระบาง หัวเมืองพวนทั้งหมด ตลอดจนหัวเมืองอีกหลายแห่งในที่ราบสูงโคราชเข้ารวมเป็นอาณาจักรเดียวกัน ภายใต้การช่วยเหลือของกษัตริย์เขมร ก่อตั้งเป็นอาณาจักรล้านช้างขึ้นบนดินแดนที่ตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างลุ่มแม่น้ำโขงกับเทือกเขาอันหนำ มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองเชียงดง-เชียงทอง เป็นอาณาจักรที่รุ่งเรืองในทุกด้าน หลังจากสถาปนาเมืองเชียงดง-เชียงทอง แล้ว พระเจ้าฟ้างุ้มทรงรับพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ (นิการเถรวาท) จากราชสำนักเขมรมาเป็นศาสนาประจำชาติ และได้อัญเชิญพระบาง เป็นพระพุทธรูปศิลปะสิงหลจากราชสำนักเขมรมายังล้านช้าง เจ้าฟ้างุ้มทรงเปลี่ยนชื่อเป็น “เมืองหลวงพระบาง”

เมื่อพระเจ้าฟ้างุ้มสิ้นพระชนม์ พระยาสามแสนไทไตรภูวนาถ โอรสของพระเจ้าฟ้างุ้มได้ขึ้นครองราชย์ต่อ อาณาจักรล้านช้างเริ่มตกต่ำลงเพราะสงครามแย่งชิงอำนาจและเกิดกบฏต่างๆ นานนับร้อยปี จนถึง พ.ศ. 2063 พระโพธสารราชเจ้าขึ้นครองราชย์ และรวบรวมแผ่นดินขึ้นใหม่ให้เป็นปึกแผ่น และให้ย้ายเมืองหลวงของอาณาจักรล้านช้างไปอยู่ที่เมืองเวียงจันทน์ เพื่อให้ไกลจากการรุกรานของสยาม และสร้างความเจริญให้กับอาณาจักรล้านช้างเป็นอย่างมากและทรงมีสายพระเนตรยาวไกล ทรงโปรดให้พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชพระราชโอรสไปครองอาณาจักรล้านนา เพื่อเป็นการคานอำนาจพม่า ครั้นเมื่อพระเจ้าโพธิสารราชเจ้าเสด็จสวรรคต พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชเสด็จกลับมาล้านช้าง และทรงอัญเชิญพระแก้วมรกตจากเชียงใหม่ไปยังเวียงจันทน์ ในรัชสมัยของพระองค์พระพุทธศาสนาทรงมีความเจริญรุ่งเรืองมาก ทรงสร้างวัดพระธาตุหลวง หรือที่เรียกว่า “พระธาตุเจดีย์โลกจุฬามณี” และสร้างวัดพระแก้วขึ้นเพื่อประดิษฐานพระแก้วมรกต และ พระองค์มีความสัมพันธไมตรีที่แนบแน่นกับกษัตริย์ไทย โดยเฉพาะในรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช รัชสมัยของพระองค์นับเป็นยุคทองของราชอาณาจักรล้านช้าง ภายหลังเมื่อพระองค์สวรรคตแล้ว เชื้อพระวงศ์ลาวต่างก็แก่งแย่งราชสมบัติกัน จนอาณาจักรล้านช้างแตกแยกเป็น 3 ส่วนคือ อาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์และอาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์ ต่างเป็นอิสระไม่ขึ้นแก่กัน และเพื่อชิงความเป็นใหญ่ต่างก็ขอสวามิภักดิ์ต่อเมืองเพื่อนบ้านเช่นไทย พม่า เพื่อขอกำลังมาสยบอาณาจักรลาวด้วยกัน จนถึง พ.ศ. 2322 กองทัพสยามเข้ายึดครองแผ่นดินล้านช้างที่แตกแยกออกเป็น 3 อาณาจักรได้ทั้งหมด ครั้นถึงปี พ.ศ. 2365 เจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ทรงวางแผนก่อกบฏเพื่อกอบกู้เอกราช แต่ไม่สำเร็จถูกตัดสินโทษประหารชีวิต กองทัพสยามในรัชกาล